ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบการใช้งานต่างๆ ของระบบสายพานลำเลียงท็อปเชน (Conveyor Design)

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบการใช้งานต่างๆ ของระบบสายพานลำเลียงท็อปเชน (Conveyor Design)

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบการใช้งานต่างๆ ของระบบสายพานลำเลียงท็อปเชน (Conveyor Design)

1. การออกแบบสายพานลำเลียงพื้นฐาน (Basics)

การสร้างประกอบด้วย
1.1) สายพาน (Chains)
1.2) คานลำเลียง (Conveyor Beam)
1.3) พลาสติกรองสายพาน (Slide Rail)
1.4) ชุดขับ ( Drive Unit ) , ชุดท้าย (Idler Unit)
1.5) ส่วนรับน้ำหนัก (Suppot Unit)
1.6) ส่วนการประคองชิ้นงาน (Guide Reail)
1.7) ส่วนประกอบอื่นๆ (Accessories)

ภาพคือตัวอย่างสายพานลำเลียง ประกอบด้วย

1.สายพานท็อปเชนแบบ Roller Top สำหรับชิ้นงานที่ต้องการ Buffer ลดการเสียดทานในการสะสมของชิ้นงาน
2.โครงสร้างแสตนเลสพร้อมด้วยรางน้ำ
3.มอเตอร์(Motor)ขับด้านข้าง
4.อุปกรณ์อื่นๆ อาทิ Guide Rail , Bearing , Roller Return , Bracket Guide , Slide Rail , Support Conveyor

ภาพคือตัวอย่างสายพานลำเลียง

1.1) สายพานลำเลียง (Conveyor Systems)

ความกว้างของสายพานให้เลือกมากมายตั้งแต่ขนาด 22 -2,000 มิลลิเมตร พร้อมหลากหลายชนิดเพื่อให้เหมาะกับทุกสินค้า ขนาดสินค้า การจัดวาง และการใช้งานประเภทของสายพานที่มี ได้แก่ สายพานธรรมดาผิวเรียบ, สายพานบนเป็นยาง, สายพานแบบวิ่งทางโค้ง , สายพานแบบป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ , สายพานโค้งแบบมีแบริ่ง , สายพานเป็นยางหนีบ ,สายพานบนเป็นลูกกลิ้ง, สายพานบนสแตนเลส และเรายังมีสายพานวัสดุพิเศษ เพื่อตอบสนองความต้องการในการใช้งานที่หลากหลายสามารถเลือกสายพานจากการคำนวณและความต้องการในการใช้งาน เงื่อนไขดังนี้
1) รุ่น (Type No.) พิจารณาจากสินค้าและลักษณะการลำเลียงสินค้า
2) หน้ากว้าง (Width) พิจารณาขนาดสินค้า
3) ความยาว (Length) พิจารณาระยะการลำเลียงสินค้า
4) พิท(Pitch) พิจารณาน้ำหนักของสินค้า.
5) วัสดุ(Material) พิจารณาวัสดุสินค้าและสภาพแวดล้อม

1.2) คานลำเลียง (Conveyor Beam)

วัสดุที่ใช้นิยมเป็น แสตนเลส,
อลูมิเนียม , เหล็กเคลือบสีกันสนิม สร้างขึ้นเพื่อรองรับให้สายพานเคลื่อนที่ต่างๆ
โค้งไป-มา , ขึ้น-ลง การออกแบบพิจารณาจากสายพานเป็นหลัก จะประกอบไปด้วย
1) ฝาด้านข้างขวา-ซ้าย (Frame Conveyor)
2) วัสดุสำหรับเชื่อมฝาซ้าย-ขวา (Cennect Frame)

1.3) พลาสติกรองสายพาน (Slide Rail)

ใช้เพื่อให้มีแรงเสียดทานต่ำและต้านทานการสึกหรอของสายพาน จะถูกยึดเข้ากับหน้าส่วนที่สายพานสัมผัสด้านบนและด้านล่างของคานลำเลียง และต้องยึดให้แน่นและยึดเข้ากับคานลำเลียงโดยใช้สกรูหรือหมุดย้ำเพื่อหลีกเลี่ยงการไหลออกระหว่างการเคลื่อนที่

1.4) ชุดขับ (Drive Unit)

สายพานลำเลียงแต่ละเครื่องต้องการชุดขับเคลื่อนและชุดตามเพื่อเคลื่อนย้ายโซ่ อันจะประกอบไปด้วย
1) เฟืองขับ (Sprocket Drive) , เฟืองตาม (Idler)
2) แบริ่ง (Bearing)
3) มอเตอร์ (Motor)
4) เพลาขับ (Shaft Drive)

1.5) ส่วนรับน้ำหนัก (Suppot Unit)

ส่วนประกอบรองรับโครงสร้างคานลำเลียง (Conveyor Beam) เป็นโครงสร้างรองรับที่แข็งแรงสำหรับทุกความ ต้องการในการลำเลียง ต้องรองรับสายพานลำเลียงด้วยโครงสร้างรองรับเป็นระยะๆ โดยขึ้นอยู่กับโหลดบนสายพานลำเลียง ช่วงโครงสร้างขาปกติคือ 2 เมตร อย่างไรก็ตาม อย่างไรก็ตาม ในการใช้งานที่มีน้ำหนักมาก จำเป็นต้องมีระยะห่างน้อยกว่า 2 เมตร อันจะประกอบด้วยดังนี้
1) ส่วนที่ยึดกับคานลำเลียง (Bracket Top Support)
2) ส่วนที่ยึดกับBracket Top Support (Bracket Support)
3) ส่วนที่เป็นเสาหลัก (Pillar)
4) ส่วนที่เป็นฐานรองรับ (Support Bases)
5) ส่วนที่สัมผัสพื้นสามารถปรับระดับได้ (Articulated Feet

1.6) ส่วนการประคองชิ้นงาน ( Guide Reail )

ใช้เพื่อนำทางสินค้าทั่วทั้งระบบสายพานลำเลียง และป้องกันไม่ให้สินค้าตกจากสายพานลำเลียง รางนำทางและขายึดรางนำทางที่หลากหลาย ทั้งแบบยึดกับที่หรือปรับได้ เพื่อให้ครอบคลุมขนาดและรูปร่างของสินค้าต่างๆ มากมาย ระยะห่างของตัวยึดขึ้นอยู่กับแรงอัดด้านข้างและประเภทของสินค้า ในการใช้งานทั่วไป แนะนำให้ใช้ระยะห่าง 1–1.5 เมตรต่อตัวยึดด้านข้างสำหรับส่วนตรง สำหรับการโค้งงอ จำเป็นต้องเพิ่มตัวยึดรางนำทาง สำหรับจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของแนวโค้ง และจำเป็นต้องใช้ตัวยึดรางนำทาง เพิ่มเติมที่กึ่งกลางของแนวโค้งเพื่อให้รัศมีโค้งกว้างขึ้น ในสายพานลำเลียงแบบสินค้าสะสมมาก, สายพานลำเลียงที่มีการสะสมหรือสายพานลำเลียงน้ำหนักมาก ดังนั้นต้องเพิ่ม ขายึดอีก มีส่วนประกอบดังนี้
1) ขายึดไกด์ (Bracket Guide Rail)
2) ตัวจับไกด์รางไกด์ ( Guide Rail Clamp )
3) รางนำทาง ( Guide Rail )

1.7) ส่วนประกอบอื่นๆ (Accessories)

อุปกรณ์เสริมสำหรับสายพาน อุปกรณ์เสริมสำหรับสายพานลำเลียงอื่น ๆ ตั้งแต่โบลต์และน็อตพิเศษ ตัวยึด ล็อคเพลา แถบเชื่อมต่อ หมุดย้ำ ลูกกลิ้ง ฝาครอบ T-slot ไปจนถึงแหวนรองสำหรับการเชื่อมต่อระหว่างโมดูลและส่วนประกอบต่างๆ